วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


1.เคส
เคส เคสก็เปรียบได้กับตัวถังรถยนต์ที่ทำหน้าที่หุ้มห่อชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ มีลักษณะ เป็นกล่องโลหะสี่เหลี่ยมทำหน้าที่หุ้มห่อชิ้นส่วนต่างๆ ของ คอมพิวเตอร์ เคสมีหลายแบบ เช่น แบบนอนหรือ Desktop เคสแบบตั้งหรือ Tower ซึ่งเคสแบบนี้ยังแยกย่อยไปอีก เช่น แบบ Mini Tower (แบบมินิ) Medium Tower (แบบมิเดี้ยม) หากจะเลือกซื้อแนะนำให้เลือกแบบ Tower ขนาด อย่างน้อย ต้อง Medium ซึ่งเป็นเคสขนาดกลางๆ รองรับการต่อเติมอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ถูกติดตั้งใกล้ชิดกันมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อน เพราะการระบายอากาศไม่ดี

เคสแต่ละแบบจะมีพาวเวอร์ซัพพลายในตัวซึ่งมีกำลังไฟแตกต่างกัน เช่น 200 W, 230 W หรือ 250 W หากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้มีอุปกรณ์ไม่มาก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ อย่างละตัว การ์ดจอ การ์ดเสียง ก็เลือกพาวเวอร์ซัพพลาย 230 W เป็นอย่างน้อย กำลังไฟฟ้าไม่พอ จะมีผลทำให้ฮาร์ดดิสก์เสีย ได้เหมือนกัน แต่การเลือกใช้พาวเวอร์ซัพพลายที่มีวัตต์สูงๆ ก็กินไฟมากกว่า จึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนเลือกซื้อ
เคสบางแบบก็ถูกออกแบบมาเพื่อซีพียูบางรุ่นโดยเฉพาะ เช่นซีพียูเพนเทียมโฟร์ ไม่เช่นนั้น จะจ่ายไฟไม่พอ อาจทำให้ซีพียูเสียหายได้

ในปัจจุบันได้มีการออกแบบเคสแบบใหม่เรียกว่า ATX เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่างของเคส และเมนบอร์ดแบบเก่าหรือแบบ AT ปัจจุบันก็มีผู้นิยมใช้เคสแบบนี้กัน มาก เริ่มมีการนำมาใช้กับ คอมพิวเตอร์เพนเทียมรุ่นหลังๆ ประมาณเพนเทียม 166 ขึ้นไป จนมาถึงปัจจุบัน ในขณะที่แบบ AT มีใช้กันมาตั้งนานนม ปัจจุบันก็ยังใช้ กันอยู่ ราคาถูกกว่าเคสแบบ ATX โดยสรุปก็คือ เราอาจแบ่ง ประเภทของเคสได้เป็น 2 แบบ ATX และ AT ข้อแตกต่างของเคสที่สังเกตง่ายก็คือ ด้านหลังเคส และสาย ต่อไฟเข้า เมนบอร์ดไม่เหมือนกัน เคสแบบ ATX ที่ด้านหลังพอร์ตต่างๆ เช่น พอร์ตเครื่องพิมพ์ เมาส์ Com1 หรือ Com2 จะอยู่ตำแหน่งติดๆ กัน พอร์ตต่างๆ จะอยู่ ในแนวตั้งและมีตำแหน่งเฉพาะ ไม่สามารถถอดเปลี่ยนตำแหน่งได้ แต่เคสแบบ AT ตำแหน่งของพอร์ดเหล่านี้จะอยู่ในแนวนอนและ ขึ้นอยู่กับผู้ติดตั้งว่าจะติดตั้ง ตำแหน่งใด


ส่วนประกอบของเคส 
สำหรับเคสโดยปกติที่ซื้อมาใหม่หรือไม่ถูกถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนใดๆ ก็จะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
1. พาวเวอร์ซัพพลายหรือตัวจ่ายไฟ จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับเคส
2. สายสัญญาณ Reset, Hdd Led, Power Switch, Power Led และ Speaker
3. น็อตและหมุดพลาสติกสำหรับยึดเมนบอร์ดเข้ากับเคส
4. สายไฟพาวเวอร์ สำหรับต่อไฟเข้าเมนบอร์ดต่อไฟฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรว์ ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ เป็นต้น

2.ศีย์บอร์ด

คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลหรือเป็นส่วน Input เพื่อนำไปประมวลผล คีย์บอร์ดมีหลาย แบบ เช่น แบบมีปุ่มควบคุมการเล่นเพลง ซึ่งเรียกว่าคีย์บอร์ดแบบมัลติมิ เดีย คีย์บอร์ดแบบไร้สาย สื่อสารข้อมูลผ่านพอร์ตอินฟราเรด เป็นต้น
ประเภทของคีย์บอร์ด 
1. Serial Key Board เป็นคีย์บอร์ดที่มีมาแต่ดั้งเดิม ยุคกำเนิดคอมพิวเตอร์ สังเกตง่ายๆ ก็คือส่วนหัวสำหรับต่อกับเมนบอร์ด จะมีขนาดใหญ่ คีย์บอร์ดประเภทนี้ จะใช้กับเมนบอร์ดหรือเคส แบบ AT

2. PS/2 Key Board เป็นคีย์บอร์ดที่พัฒนาขึ้นใหม่ ส่วนหัวต่อมีขนาดเล็กกว่าแบบแรก คีย์บอร์ดประเภทนี้จะใช้กับเมนบอร์ด หรือเคสแบบ ATX

การเลือกซื้อคีย์บอร์ด
ไม่ว่าจะมียี่ห้อหรือคีย์บอร์ดทั่วๆ ไป ราคา 200 กว่าบาท ก็ค่อนข้างทนทานพอสมควร ตั้งแต่ ใช้เครื่องมายังไม่เคยใช้จนพังเลยสักที แต่มีสิ่งที่ต้องใส่ใจในการเลือก ซื้อก็คือ ปุ่มต่างๆ นิ่มมือดีหรือ ไม่ เสียงไม่ดังเกินไป ลองวางมือแล้วพิมพ์ข้อความแล้วรู้สึกคล่องดีหรือไม่ และสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่ง ก็คือเลือกหัวต่อให้ถูกต้อง ตรงกับ เมนบอร์ดที่ใช้
3.เมาส์
เมาส์เป็นอุปกรณ์ใช้เลือกและป้อนคำสั่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ โดยปกติเมาส์จะมีสามปุ่ม แต่บางรุ่นอาจจะมีสองปุ่ม ปุ่มซ้าย เป็นปุ่มที่ใช้งานโดยปกติ ปุ่มขวา ใช้เรียกคำสั่งลัดหรือคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานตรงส่วนนั้นๆ ส่วนปุ่มตรงกลางไม่มีหน้าที่อะไร แต่ก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมบาง โปรแกรมอาจกำหนดให้สามารถใช้ ปุ่มกลางทำบางสิ่งบางอย่างได้ ทั้งนี้ตรงกลางเมาส์บางแบบ ทำเป็น ล้อเลื่อน สำหรับดูข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต สามารถเลื่อนที่ล้อเลื่อนเพื่อดูหน้าต่างๆ ได้



ประเภทของเมาส์ 
เมาส์มีหลายแบบ ซึ่งอาจแบ่งประเภทของเมาส์ได้ ดังนี้
1. Serial Mouse เป็นเมาส์แบบดั้งเดิมหรือแบบเก่าหรือเรียกว่าหัวเหลี่ยม เชื่อมต่อกับ พอร์ต Com1 หรือ Com2

2. PS/2 Mouse เป็นเมาส์แบบใหม่ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมา หัวต่อจะมีขนาดเล็กกว่าแบบ แรก ข้อดีของการใช้เมาส์แบบนี้ก็คือ จะเหลือพอร์ต Com1 และ Com2 ไว้ใช้งานอย่างอื่น เช่น ต่อโมเด็มหรือปาล์ม

3. Trackball เป็นเมาส์อีกแบบหนึ่งคล้ายๆ กับการจับเมาส์หงายขึ้นแล้วใช้มือหมุนลูกกลิ้ง แทน โดยส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Notebook

4. Infrarate Mouse คล้ายๆ กับรีโมตคอนโทรลที่ควบคุมการทำงานของทีวี จะไม่มีสายเชื่อมต่อระหว่างเมาส์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่จะใช้แสงอินฟราเรดใน การรับส่งสัญญาณ แทน เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นวิทยากร หรืออาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ หรือการนำเสนอข้อมูลใดๆ ด้วย คอมพิวเตอร์ เพราะคุณสามารถเลื่อนตัวชี้ ของเมาส์เพื่อควบคุมการนำเสนอได้ค่อนข้างสะดวก ไม่ต้องยืน ควบคุมเมาส์ที่โต๊ะอย่างเดียว

การเลือกซื้อเมาส์
การเลือกซื้อเมาส์ราคาประมาณ 200 บาทขึ้นไป เลือกที่มียี่ห้อสักหน่อย ใช้กันจนลืมไปเลย ทีเดียว เมาส์จะมีอายุการใช้งานก็ต้องดูแลรักษา เรื่องฝุ่นอย่าให้เข้าใกล้ คลุมทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน หมั่นเช็ดฝุ่นที่แกนหมุน จะช่วยให้การเลื่อนเมาส์ลื่นไหลไม่ติดขัด
การเลือกซื้อ ก็ลองกดปุ่มหรือลองคลิก นิ่มนวลหรือไม่ เสียงไม่ดัง จับกระชับมือ เลือกแบบ มีล้อตรงกลางก็ยิ่งดี ไว้เลื่อนหน้า เวลาท่องเว็บ หรือใช้งานโปรแกรมพิมพ์ เอกสารจะสะดวกมาก


4.พาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลายหรือหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าในบ้านให้เป็นไฟฟ้าที่ พอเหมาะกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีอยู่สองแบบคือ AT และ ATX ใน การเลือกใช้ให้พิจารณาอุปกรณ์ ที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ หากมีค่อนข้างมาก เช่น การ์ดเสียง การ์ดจอ การ์ดโมเด็ม การ์ดเน็ตเวิร์ค ซีดีรอมไดรว์ ฮาร์ดดิสก์ ฯลฯ ควรเลือกขนาดของหม้อแปลงไฟฟ้าค่อนข้างมากหน่อย เช่น 230 W หรือ 250 W การสังเกตความแตกต่างของหม้อแปลงทั้งสองแบบคือ ส่วนเชื่อม ต่อเพื่อ จ่ายไฟให้กับเมนบอร์ด แบบ AT จะแยกเป็นสองสาย ส่วน ATX จะติดกัน

ส่วนท่านใดที่ใช้เพนเทียมโฟร์ จะต้องเลือกใช้พาวเวอร์ซัพพลายที่ออกแบบมาสำหรับซีพียูรุ่นนี้ โดยเฉพาะ แพงกว่าด้วย ไม่รู้เหมือน กันว่าทำไมสองบริษัทนี้คืออิน เทลและไมโครซอฟท์ออกผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ ทีไร ก็ต้องมีเรื่องเสียเงินเพิ่มอยู่เรื่อย





5.ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร


ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ถือว่ามีความสำคัญมาก ถ้าหากไม่มีฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของคุณจะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดสื่อหลักที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความจุที่ค่อนข้างสูง ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานเหล็กกลมแบบที่ใช้บันทึกข้อมูลวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ และยึดติดกับมอเตอร์ที่มีความเร็วในการหมุนหลายพันรอบต่อนาทีโดยมีแขนเล็กๆที่ยื่นออดมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านซึ่งใช้สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก การอ่านหรือเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่หัวอ่านขนาดของจานที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 นิ้ว ส่วนถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ของโน้ตบุ๊คก็ประมาณ 2.5 นิ้ว




6.แรม (RAM) คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร

แรม (RAM) คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร ถ้าให้พูดกันลอยๆก็คงคิดกันไปว่า แรม ทำให้คอมเร็วขึ้นยิ่งแรมเยอะคอมเร็วก็ยิ่งเร็ว แต่รู้หรือไม่ว่าหน้าที่จริงๆ ของแรมนั้นคืออะไร

แรม (RAM : Random Access Memory) คือ หน่วยความจำที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำประเภทที่อ่าน/เขียน ข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไฟดับหรือปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำจะหายหมดทันที

หน่วยความจำจะทำงานร่วมกันกับซีพียู (CPU)อยู่ตลอดเวลา่ แทบทุกจังหวะการทำงานของซีพียู (CPU) จะต้องมีการอ่าน/เขียนข้อมูลไปยังหน่วยความจำเสมอ หรือแม้แต่ในขณะที่เราสั่งย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ต้องใช้หน่วยความเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล



7.การ์ดจอ (Graphic Card) คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร


การ์ดจอ (Graphic Card)
 หรือการ์ดแสดงผล เป็นเหมือนสีสันของคอมพิวเตอร์เลยครับ การ์ดจอ (Graphic Card) คือ แผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ(Monitor) ในปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือ AGP (Accelerator Graphic Port)ซึ่งเป็นแบบเก่าตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ว อาจจะเลิกผลิตไปแล้วก็ได้ครับที่เห็นๆ อยู่คงจะเป็นมือ 2 ที่ยังหลงเหลืออยู่หรือของที่ค้างสต๊อก และอีกระบบหนึ่งคือ PCI Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด


โปรแกรมในปัจจุบันมีความต้องการการคำนวณทางด้านกราฟิคที่สูงมาก อย่างที่รู้ๆ กันคือ เกมส์ ที่เรากันอยู่ในปัจจุบันครับ บรรดาผู้ผลิตต่างก็พัฒนาเกมของตนให้มีภาพกราฟิคที่ละเอียดสมจริง การ์ดจอจึงต้องพัฒนาให้สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งกราฟฟิคที่สวยงาม ตระกาลตา ปัจจุบันนี้ก็ HD(Hi definition)กันเกือบหมดแล้ว







8.เมนบอร์ด (Mainboard) คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร

เมนบอร์ด (Mainboard) คือ ศุนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีชิปเซตที่ำทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ อีกขั้นหนึ่ง เมนบร์ด (Mainboard)นิยมใช้มาตรฐานการออกแบบ ATX (Advance Technology Extension) ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น

และล่าสุดนี้มีการพัฒนาแบบ BTX (Balance Technology Extension) ได้นำพัดลมมาไว้ด้านหน้าเึคสเพื่อนำลมเย็นเข้าไปภายในระบบและนำซีพียู(CPU)มาไว้ด้านหน้าเครื่องเพื่อรับสมเย็นโดยตรง ส่งผลให้ไม่จำเป็นต้องใ้ช้พัดลมที่มีความเร็วรอบสูงและเสียงดัง ปัจจุบันเมนบอร์แบบ BTX ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น เคส ฮัตซิงค์ เป็นต้น
นอกจากเมนบอร์ดมาตรฐาน ATX (Advance Technology Extension) ปัจจุบันยังมีเมนบอร์ดมาตรฐาน Mini-ITX เป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ทีมีขนาดเล็กเพื่อความบันเทิงหรือ HTPC และเคสก็ออกแบบมาอย่างเหมาะสมเพื่อวาง LCD TV ตัวเมนบอร์จึงมีขนาดเล็กตามไปด้วย เมนบร์ดบอร์ดลักษณะนี้จะรวมทุกอย่างไว้บนเมนบอร์ดและมีเพียง 1 สล็อตเท่านั้น


ส่วนประกอบของเมนบอร์ดจะประกอบไปด้วย

  1. ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket)
  2. ชิปเซต (Chipset)
  3. ซ็อกเก็ตแรม (RAM Socket)
  4. สล็อตของการ์ดจอ (Graphic Card Slot)
  5. สล็อต PCI (PCI Slot)
  6. หัวต่อไดรว์ต่างๆ
  7. หัวต่อแหล่งจ่ายไฟ
  8. ชิปรอมไบออส (ROM BIOS)
  9. หัีวต่อสายสวิตช์ควบคุม
  10. พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ

9.ดิสไดร์

img12.jpg 
 เครื่องจานแม่เหล็ก (disk drive) เป็นเครื่องที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูลบนจานแม่เหล็ก มีหลักการทำงานคล้ายเครื่องเล่นจานเสียงธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่แทนที่จะมีเข็มกลับมีหัวอ่านและหรือหัวบันทึก (read-write head) คล้ายเครื่องแถบแม่เหล็กที่เคลื่อนที่เข้าออกได้ เครื่องจานแม่เหล็ก มีสองแบบ คือ แบบจานติดอยู่กับเครื่อง (fixed disk) และแบบยกจานออกเปลี่ยนได้ (removable disk)
จานแม่เหล็กส่วนใหญ่ทำด้วยพลาสติก มีรูปร่างเป็นจานกลมคล้ายจานเสียงธรรมดา แต่ฉาบผิวทั้งสองข้างด้วยสารแม่เหล็กเฟอรัสออกไซด์ การบันทึกทำบนผิวของสารแม่เหล็กแทนที่จะเซาะเป็นร่องเล็ก ๆ การอ่านและการบันทึกข้อมูลกระทำโดยใช้หัวอ่านที่ติดตั้งไว้บนแผงที่สามารถเลื่อนเข้าออกได้
ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้บนรอยทางวงกลมบนผิวจานซึ่งมีจำนวนต่าง ๆ เช่น 100-500 รอยทาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของจานมีตั้งแต่ 1-3 ฟุต สามารถบันทึกตัวอักษรได้หลายล้านตัวอักษร การบันทึกใช้บันทึกทีละบิตโดยใช้แปดบิตต่อหนึ่งไบต์ จานแม่เหล็กหมุนเร็วประมาณ 1,500-1,800 รอบต่อนาที สามารถค้นหาข้อมูลด้วยเวลาเฉลี่ยประมาณ 50 มิลลิวินาที สามารถย้ายข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงถึง 320,000 ไบต์ต่อวินาที ขอให้เราสังเกตว่าเวลาเฉลี่ยเหล่านี้เป็นเวลาที่ช้ากว่าเครื่องรุ่นใหม่ ๆ มาก
ถ้าต้องการเก็บข้อมูลจำนวนมาก เขาจะใช้จานแม่เหล็กที่มีจำนวน 2 หรือ 6 หรือ 12 จานมาติดตั้งซ้อนกันตามแนวดิ่ง รวมกันเป็นหนึ่งหน่วย เรียกว่า ดิสก์แพ็ค (disk pack) ซึ่งเราสามารถยกดิสก์แพ็คเข้าออกจากเครื่องได้ การทำเช่นนี้ ทำให้จานแม่เหล็กสามารถทำหน้าที่คล้ายแถบแม่เหล็ก

10.CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit
CPU ทําหน้าที่อะไร
CPU นับว่าเป็นฮาร์ดแวร์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก CPU จะทำหน้าประมวลผล คำนวณและวิเคราะห์ผลชุดคำสั่งที่ส่งมาจากซอฟแวร์ทุกชนิดในระบบคอมพิวเตอร์ และยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบอีกด้วย
CPU ทําหน้าที่อะไร
CPU Core i3 ของ Intel
หลักการทำงานของ CPU นั้นเริ่มจาก Software ต่างๆในระบบส่งชุดคำสั่งที่ต้องการประมวลผลมายังหน่วยความจำหลัก (RAM) จากนั้น RAM จะทำการจัดเรียงคำสั่งต่างๆตามคิวที่เข้ามา จากนั้น CPU จะอ่านคิวของชุดคำสั่งเหล่านั้นเพื่อประมวลผลตามลำดับก่อนหลัง เมื่อคำนวณผลเสร็จแล้วก็จะผลลัพธ์นั้นกลับมายัง RAM เพื่อส่งต่อไปยังโปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่งนั้นๆเพื่อแสดงผลต่อไป อีกทั้งยังสามารถส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น Harddisk ได้อีกด้วย
ถ้าเทียบกับร่างกายคนเรา CPU ก็ทำหน้าที่เหมือนสมองนั่นเอง…





11.Monitor จอภาพ

Monitor




จอภาพ Monitor เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับจอแบบกราฟิก (Graphic) โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำหรับจอภาพแบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480 pixel
ลักษณะภายนอกของจอภาพก็คล้ายๆ กับจอโทรทัศน์นั่นเอง สิ่งที่แสดงออกทางจอภาพมีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (Video Card, Video Adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เสียบบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอภาพแสดงผล
ปัจจุบันมีการพัฒนาจอภาพออกมาหลากหลายลักษณะ โดยเน้นที่จำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด การประหยัดพลังงาน โดยสามารถแบ่งประเภทจอภาพ ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
  1. จอภาพสีเดียว (Monochrome Monitor)
    จอภาพที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวเวลานี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว
  2. จอภาพหลายสี (Color Monitor)
    จอภาพที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 16 ล้านสี
  3. จอภาพแบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display)
    จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ เป็นแบ่งได้เป็น
    1. Active matrix จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย
    2. Passive matrix color จอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อได้ว่า DSTN – Double Super Twisted Nematic
        การทำงานของจอภาพ เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน เกิดเป็นอิเล็กตรอนขึ้น และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอน ให้ไปยังจุดที่ต้องการแสดงผลบนจอภาพ ซึ่งที่จอภาพจะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน ก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งจะประกอบกันเป็นรูปภาพ ในการยิงลำแสดงอิเล็กตรอน มันจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง จากนั้นเมื่อกวาดภาพ มาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง และ ปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 line และ เคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง และทำการยิ่งใหม่ ลักษณะการยิงจึงเป็นแบบฟันเลื่อย
        ปัจจุบันกระแสจอแบน ได้เข้ามาแซงจอธรรมดา โดยเฉพาะประเด็นขนาดรูปทรง ที่โดดเด่น ประหยัดพื้นที่ในการวาง รวมทั้งจุดเด่นของจอภาพแบน ก็คือประหยัดพลังงาน โดยจอภาพขนาด 15 - 17 นิ้ว ใช้พลังงานเพียง 20 - 30 วัตต์ และจะลดลงเหลือ 5 วัตต์ในโหมด Standby ในขณะที่จอธรรมดา ใช้พลังงานถึง 80 - 100 วัตต์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น